ประวัติบ้านยางสีสุราช
พระสีสุราช
จากตํานานเล่าขานและประวัติศาสตร์บางตอน ที่มีผู้รู้และผู้เฒ่าผู้แก่ประจําผู้บ้าน จดบันทึกและเล่าสืบต่อกันมาชั่วลูกชั่วหลานนั้น
⇒ ปี พ.ศ. 2202 ในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลายตรงกับรัชสมัยของสมเด็จพระนารายณ์ มหาราช ได้มีราษฎรอ้ายลาว (พิลาว - น้องลาว) อพยพมาจากเมืองจําปาสัก ซึ่งเป็นส่วน หนึ่งของอาณาจักรลานช้าง นําโดยพระสีสุราชหรือท้าวสีสุราชเป็นหัวหน้า พระสีสุราชเป็น ราชบุตรของเจ้าเมืองจําปาสัก อพยพเข้ามาทางดอนมดแดง (อุบลราชธานี) ผ่านเมือง สุวรรณภูมิมาตั้งถิ่นฐานที่โคกหนองดุม ซึ่งมีชัยภูมิที่อุดมสมบูรณ์
⇒ ปี พ.ศ. 2212 พระสีสุราชได้ย้ายจากโคกหนองดุม ไปตั้งบ้านที่ดงตะกวดโนนสูง ความ ตอนนี้เล่าว่าพระสีสุราช ชาวบ้านเรียกกันว่า ท้าวสีสุราชหรือเฒ่าไก่สามเก้า เหตุเพราะท่าน ไก่ไว้กินไข่กินเนื้อ เวลาที่จะออกไปทําศึกหรือเดินทางไปไหนมาไหน ท่านชอบให้บริวารใช้หอก
ประวัติบ้านยางสีสุราช
สามง่าม จํานวน 9 อัน ยกขึ้นนั่งบนคอช้างและเวลาจะลงจากคอช้างก็ให้บริวารใช้หอกรับ ลงทุกครั้ง เพื่อแสดงให้เห็นอิทธิฤทธิ์มีวิชาอาคมอยู่ยงคงกระพัน
⇒ ปี พ.ศ. 2525 ได้ย้ายจากบ้านดงตะกวดโนนสูง ไปตั้งที่โนนบ้านนาที่อยู่ทางเหนือขึ้น มา มีลําห้วยไหลผ่าน ขณะนั้นทางกรุงธนบุรีกําลังมีเหตุการณ์วุ่นวาย สมเด็จเจ้าพระมหา กษัตริย์ศึก ได้ปราบดาภิเษกขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์ ทรงพระนามนามว่า สมเด็จพระพุทธยอด ฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงปราบกบฏได้เรียบร้อยและทรงสร้างกรุงรัตนโกสินทร์ขึ้นทางทิศตะวัน ออกของกรุงธนบุรีขึ้นเป็นราชธานี
⇒ ปี พ.ศ. 2235 พระสีสุราช ได้ย้ายจากโนนบ้านนามาทางด้านตะวันออก ที่มีชัยภูมิ เป็นป่าดงยางใหญ่ มีความอุดมสมบูรณ์มากเพราะมีหนองน้ําธรรมชาติหลายแห่ง เช่น หนองโพด หนองกระบอง หนองโสกเปื่อย และวังศาลา มีสัตว์อาศัยอยู่เป็นจํานวนมาก เช่น ลิง ค่าง บ่าง ชะนี เสือ ช้าง แรด และยังมีนกอาศัยอยู่เป็นจํานวนมากมากอีกด้วย เช่น นกกระสา นกกระยาง นกคอก นกกาบบัว นกหงส์ นกเจ่า นกดวง อีแร้ง เป็นต้น พอถึง ฤดูฝนตก พายุพัดแรงทําให้บรรดาลูกนกที่อยู่ในรังถูกพัดตกลงมาจากรัง เกลื่อนกลาด ชาวบ้านเก็บเอาไปทําเป็นอาหารปีละมาก ๆ ดินแดนแห่งนี้อุดมสมบูรณ์ไปด้วย ผลหมากราก ไม้หลากหลายพันธุ์ สัตว์เล็กสัตว์ใหญ่อาศัยอยู่เป็นจํานวนมาก นาข้าวอุดมสมบูรณ์ เมื่อ ก่อตั้งบ้านเรือนเสร็จจึงตั้งชื่อบ้านตามนามของผู้นํา คือ พระสีสุราช + ป่าดงยางใหญ่ ว่า บ้านยางสีสุราช เพื่อเป็นสิริมงคลและความร่มเย็นเป็นสุขสืบไป
⇒ ปี พ.ศ. 2240 พระสีสุราช ได้ปกครองบ้านและทํานุบํารุงให้ชาวบ้านได้อยู่เป็นสุข และ ได้เลือกชัยภูมิที่เหมาะสมเพื่อตั้งวัดให้เป็นศูนย์รวมจิตใจในการทําบุญและแหล่งศึกษาหาความ รู้ของบุตรหลานที่บวชเรียนในสมัยนั้น พร้อมกับเลือกสถานที่ที่มีทําเลเหมาะสมตั้งศาลปู่ตาขึ้น ประจําหมู่บ้าน เพื่อเป็นที่ร่วมทําพิธีกรรมทางไสยศาสตร์และยึดเหนี่ยวจิตใจ สืบต่อไปในอนาคต
⇒ ปี พ.ศ. 2336 พระสีสุราชได้ถึงแก่กรรมลงและนําไปเผาที่โคกโสกเชือยหรือโคกหนอง หัวคนที่อยู่ทางทิศเหนือของบ้านโนนยาง และได้เรียกชื่อกันต่อมาจนถึงปัจจุบัน คือ โคกฟ้า ทั้งนี้เป็นเพราะนําศพของพระสีสุราชซึ่งเป็นลูกเจ้าฟ้าเมืองจําปาสัก ไปเผาที่นั้น ตามธรรมดา เรียกว่า โคกป่าช้า เหมือนกันทั้งหมดในภาคอีสาน ในสมัยของท้าวเมืองแสน ได้ทํานุบํารุงบ้านให้อยู่ร่มเย็นเป็นสุข โดยจัดให้มีสถานที่คุก หรือตารางหรือ ศาลหลักชื่อ - คา ไว้สําหรับลงโทษผู้กระทําผิดกฎระเบียบ ประเพณีอัน ดีงามของบ้านเมืองในสมัย บ้านยางสีสุราชขึ้นตรงทางการปกครองของเมืองโคราช
⇒ ปี พ.ศ. 2407 บ้านยางสีสุราชย้ายจากการปกครองของโคราชไปขึ้นอยู่กับมณฑลร้อยเอ็ดและขึ้นตรงกับเขตเมืองมหาสารคามในปีเดียวกัน ตรงกับสมัยรัชกาลที่ 5 พระบาท สมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว หมื่นมหาเสนาได้ปกครองบ้านเมืองสืบต่อมาและมีผู้สืบทอด ปกครองต่อมา
หลักฐานต่าง ๆ ตั้งแต่สมัยพระสีสุราชและท้าวเมืองแสน ที่ยังมีสืบทอดจากบรรพบุรุษ ถึงลูกหลานในปัจจุบัน คือ ดาบประจําตัวพระสีสุราช ซึ่งมีความยาวประมาณ 2 เมตร เป็น เหล็กกําพี้น้ำดี ไม่เกิดสนิม มีลวดลายที่ปลายด้าม สวยงามมากได้จากลูก หลาน เหลน หล่อน ได้มอบให้หลวงปู่รอด พรมสุสโร (พระครูวิเศษสารกิจ) อดีตเจ้าคณะตําบลนาภู วัดบ้านหนองกุง อําเภอพยัคฆภูมิพิสัย จังหวัดมหาสารคาม (ปัจจุบันบ้านหนองกุง อําเภอนาเชือก จังหวัด มหาสารคาม) ซึ่งเป็นอุปัชฌาย์ในสมัยนั้น เมื่อสิ้นหลวงปู่รอด ต่อมาได้มอบดาบไว้กับหลวง ปู่พระครูภัทสารพิสุทธิ์ (หลวงปู่อุ่น ภัทญาโน)
ดาบพระสีสุราช ดาบท้าวเมืองแสน
⇒ เมื่อหลวงปู่พระครูภัทสารพิสุทธิ์ (หลวงปู่อุ่น ภัทญาโน) มรณภาพ ที่มอบดาบทั้ง 2 เล่ม ให้ท่านพระมหาสมเด็จสุภาจาโร เจ้าคณะอําเภอยางสีสุราชในขณะนั้น ปัจจุบันได้รับพระราชทานสัญญาบัตรที่ พระครูสีสุราชคณารักษ์ ดาบของท่านท้าวเมืองแสนมีขนาดเล็กกว่า ดาบของพระสีสุราชเล็กน้อย แต่มีลวดลายสวยงามทั้งสองเล่ม
⇒ โคกฟ้าท่านพระเดชพระคุณ พระศรีวชิรโมลี (หลวงปู่พระมหาสังคม จิตติญาโน ปธ.9) เจ้าอาวาสวัดมหาชัย พระอารามหลวง จ.มหาสารคาม ท่านได้เล่าให้ฟังว่า บรรพบุรุษของ ท่านได้เล่าสืบต่อกันมาว่า โคกฟ้านั้นเป็นที่เผาศพของพี่น้องชาวบ้านใกล้เคียงคือ บ้านยาง สีสุราช บ้านหนองกอก บ้านโนนยาง บ้านตําแย บ้านโคกยาว บ้านปลาขาว บ้านหัวหนอง : และบ้านโนนแห่ ซึ่งที่ชาวบ้านเรียกว่า โคกฟ้า ก็เพราะมีศพของเจ้าฟ้าเผาอยู่ด้วย คือ พระสี สุราช ตามธรรมดาคนทั่วไปที่เรียกว่า โคกป่าช้าเท่านั้น